วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่7 วันที่ 29 กรกฏาคม 2553

อาจารย์ให้ดูเอกสารที่อาจารย์ให้มาเกี่ยวกับเกมการศึกษาจากนั้นเพื่อนในห้องก็นำเอกสารนั้นไปถ่ายเอกสารมาแจกเพื่อนๆในห้องแต่อาจารย์ไม่ได้อยู่ในห้องกับพวกเราเพราะอาจารย์ต้องไปทำเรื่องที่จะพาพวกเราไปดูงานแร้วหลังจากนั้นอาจารย์ก็เข้ามาในห้องได้สั่งงานให้ไปทำเกมการศึกษามาใส่ลงในบล็อกของตนเองแต่ห้ามให้เหมือนกับเพื่อนในห้องแต่ก่อนที่อาจารย์จะเข้ามาในห้องสถานการณ์ในห้องดูวุ้นวายไปหมด


ภาพประกอบเกมการศึกษา


วิธีเล่น

1. ให้เด็กดูภาพที่มันสัมพันธ์กัน
2. จากนั้นก็ให้เด็กจับคู่ภาพที่สัมพันธ์กัน
3. แล้วนำมาเรียงต่อกัน

จุดมุ่งหมาย

1. เพื่อฝึกให้เด็กได้รู้จักการสังเกต
2.เพื่อให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์
3. เพื่อให้เด็กได้รู้จักรู้ภาพต่างๆ

วันอาทิตย์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่6 วันที่ 22 กรกฏาคม 2553


ตัวอย่างเกมการศึกษา
ความสำคัญ
-ทำสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม เช่น การทำสีหน้าทำบัตรเป็นหน้ายิ้มกับหน้าบึ้ง
-ได้รับประสบการณ์ตรง จำได้นาน
-รวดเร็ว, เพลิดเพลิน, เข้าใจง่าย
สักษณะของสื่อที่ดี
-ต้องมีความปลอดภัย
-ประโยชน์ที่เด็กได้รับเหมาะสมกับความสามารถของเด็ก,ความสนใจ
-ประหยัด
-ประสิทธิภาพ
หลักการเลือกสื่อ
-คุณภาพดี
-เด็กเข้าใจง่าย
-เลือกให้เหมาะสมกับสภาพของศูนย์
-เหมาะสมกับวัย
-เหมาะสมกับเวลาที่ใช้
-เด็กได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม
-ถูกต้องตามเนื้อหา,ทันสมัย
-เด็กได้คิดเป็นทำเป็นกล้าแสดงออก
การประเมินการใช้สื่อ
(พิจารณาจากครูผู้ใช้สื่อเด็กและสื่อ)
+สื่อทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้มากน้อยเพียงใด
+เด็กชอบสื่อนั้นมากน้อยเพียงใด

ครั้งที่5 วันที่ 15 กรกฏาคม 2553

วันนี้อาจารย์เข้ามาในห้องพูดถึงเรื่องการนำสื่อการเรียนการสอนและบอกความหมายเกี่ยวกับสื่อว่าสื่อคืออะไร



สื่อ หมายถึง สื่อตัวกลางที่เป็นเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆที่ใช้เป็นสื่อในการศึกษา



หลังจากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละคนออกมานำเสนอเกี่ยวกับสื่อของตนเองให้อาจารย์ฟังและเพื่อนๆนักศึกษาในห้องได้ฟังว่าสื่อตัวนั้นที่นักศึกษานำมาต้องใช้กับเด็กในช่วงอายุเท่าไรและต่อเป็นรูปตรงใดได้บ้างและสื่อตัวนั้นทำให้เด็กได้เกิดการจิตนาการในเรื่องใดได้บ้างกับการที่เด็กได้เส่นสื่อตัวนี้และยังทำให้เด็กได้ฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็ก ฝึกสติปัญญา







<การนำเสนอสื่อของดิฉันจัดอยู่ในกิจกรรมเสรี>








วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่4 วันที่ 8 กรกฏาคม 2553


อาจารย์ให้นักศึกษาใส่ URL ของแต่ละคนลงใน Blogger ของอาจารย์หลังจากนั้นอาจารย์ก็พูดเกี่ยวกับเรื่องการารับน้องเมื่อปีที่แล้วว่าได้ทำอะไรกไปบ้างและหลังจากรับน้องเสร็จได้ทำกิจกรรมอะไรอีกบ้างซึ่งกิจกรรมมีดังนี้

- ปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่
- กิจกรรมรับน้อง
- บายสีสาขาการศึกษาปฐมวัย
- เข้าค่ายคุณธรรมจริยธรรม
- ไหว้ครู
- ประกวดดาวเดือน
- กีฬาสีเทาเหลือง
- ลอยกระทง


หลังจากนั้นอาจารย์ก็เข้าสู่บทเรียน

กราฟประสบการณ์มี 11 กลุ่ม


ประสบการณ์ตรง

เป็นประสบการณ์ขั้นที่เป็นรูปธรรมมากที่สุดโดยก่รให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์โดยตรงจากของจริง สถานการณ์จริง หรือด้วยการกระทำของตนเอง เช่น การจับต้องและการเห็นเป็นต้น


ประสบการณ์รอง

เป็นการเรียนรู้โดยการให้ผู้เรียนเรียนจากสิ่งใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด ซึ่งอาจเป็นของจำลองหรือสถานการณ์จำลองก็ได้

ประสบการณ์นาฎหรือการแสดง
เป็นการแสดงบทบาทสมมติหรือการแสดงละครเป็นเนื่องจากเป็นการจัดประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนในเรื่องที่มีข้อจำกัดด้วยยุคสมัย

การสาธิต

เป็นการแสดงหรือการกระทำคำอธิบายเพื่อให้เห็นขั้นตอนของการกระทำนั้น

ศึกษานอกสถานที

เป็นการให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ต่างๆ ภายนอกสถานที่เรียน อาจเป็นการท่องเที่ยวการเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ หรือการสัมภาษณ์เป็นต้น

นิทรรศการ

เป็นการจัดแสดงสิ่งของต่างๆ การจัดป้ายนิเทศให้สาระประโยคและความรู้แก่ผู้ชม

โทรทัศน์

โดยใช้ทั้งโทรทัศน์การศึกษาทางโทรทัศน์เพื่อการเรียนการสอนเพื่อ เพื่อให้ข้อมูลความรู้แกผู้เรียนหรือผู้ชมที่อยู่ในห้องเรียนหรืออยู่ทางบ้านและใช่ส่งได้ทั้งในระบบวงจรเปิดการสอนอาจจะเป็นการสอนสดหรืเป็นการบันทึกวีดีโอ

ภาพยนต์

เป็นภาพเคลื่อนไหวที่บันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ลงบนฟีมส์เพื่อให้ผู้เรียนได้รับรู้ประสบการณ์ทั้งภาพและเสียงโดยใช้ประสาทตา และหู

การบันทึกเสียง วิทยุ ภาพนิ่ง

เป็นได้ทั้งรูปของแผ่นเสียงหรือเทปบันทึกเสียง วิทยุเป็นสื่อที่ให้เฉพาะเสียง

ทัศนสัญสักษณ์

เช่น แผนที่ แผนสถิติ หรือเครื่องหมายต่างๆซึ่งเป็นสิ่งที่มีสัญสักษณ์แทนความเป็นจริงของสิ่งต่างๆ

วจนสัญสักษณ์

เป็นประสบการณ์ขั้นที่เป็นนามธรรมมากที่สุดได้แก่ ตัวหนังสือให้ภาษาเขียนและเสียงของคำพูดในภาษาพูด

แนวคิดของบรูเนอร์ ( Jerom S. Bruner )

- กลุ่มการกระทำ ( Enactive )
- กลุ่มภาพ ( Iconic )
- กลุ่มนามธรรม (Abstracs )

แนวคิดของสมาคมเทคโนโลยีและสื่อการศึกษาอเมริกา

- สื่อการสอนประเภทวัสดุ ( Software or Material )
- สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์ ( Hardware )
- สื่อการสอนประเภทเทคนิควิธีการ ( Techniques and Methods )

หลักการเลือกสื่อการเรียนการสอน

- แนวคิดการเลือกสื่อการเรียนการสอนของโรมิสซอว์สกี้

ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกสื่อการเรียนการสอน
1. วิธีการสอน
2. งานการเรียนรู้
3. ลักษณะของผู้สอน
4. ข้อจำกันในการปฏิบัติ
5. ผู้สอนหรือครู

สรุปหลักการในการเลือกสื่อการเรียนการสอน

1. เลือกสื่อการสอนที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้
2. เลือกสื่อการสอนที่ตรงกับลักษณะของเนื้อหาของบทเรียน
3. เลือกสื่อการสอนให้เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียน
4. เลือกสื่อการสอนให้เหมาะกับจำนวนผู้เรียนและกิจกรรมการเรียนการสอน
5. เลือกสื่อการสอนที่เหมาะกับสะภาพแวดล้อม
6. เลือกสื่อการสอนที่มีลักษณะน่าสนใจ และดึงดูดความสนใจ
7. เลือกสื่อการสอนที่มีวิธีการใช้งาน เก็บรักษา และบำรุงรักษาได้สะดวก

วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่3 วันที่ 1 กรกฏาคม 2553

อาจารย์เข้ามาพูดเรื่องการทำบล็อกของเพื่อนแต่ละคนและให้ทุกคนเอา URL ของแต่ละคนมาใส่ลงในบล็อกของอาจารย์และบอกให้ทำบล็อกมาอย่างสมบูรณ์และให้ไปเพิ่มลิงก์ของเพื่อนแต่ละคนลงในบล็อกของตัวเอง

สื่อการเรียนการสอนหมายถึงสิ่งต่างๆที่เป็นส่วนของเทคโนโลยีการศึกษาเป็นพาหะที่จะนำสารหรือความรู้ไปยังผู้เรียนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เช่น วีดีทัศน์เป็นสื่อการสอน เพราะวีดีทัศน์เป็นตัวนำให้เกิดการเรียนรู้

ความหมายของสื่อการเรียนการสอน

หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเรา เช่น วัสดุอุปกรณ์ และเทคนิควิธีการต่างๆ

คุณค่าสื่อการเรียนการสอน (สื่อกับผู้เรียน)

- ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้เร็ว
- ช่วยให้สนใจบทเรียนและใช้ประสาทสัมผัสในการรับรู้ได้
- ทำให้เข้าใจเนื้อหาบทเรียนที่ยุ้งยากซับซ้อนได้ง่ายขึ้นในระยะเวลาอันสั้นและเกิดความรวบยอดในเรื่องนั้นได้ถูกต้อง
- ให้ประสบการณ์รูปธรรมแก่ผู้เรียน และเกิดความคิด ประทับใจ จดจำได้นาน
- ช่วยให้การศึกษาค้นคว้าหาความรู้ สามารถนำประสบการณ์เดิมไปสัมพันธ์กับสิ่งไหนได้ต่อเนื่องกับการทำงานทางสมองของสติปัญญาของนักทฤษฏีของเพียร์เจ
- ส่งเสริมความคิด การแก้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์
- ช่วยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนมากขึ้น
- ผู้เรียนจะมีความเข้าใจในเนื้อหาได้ตรงกัน
- ช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีในการเรียนการสอน
- ช่วยลดการบรรยายของครูผู้สอน
- ผู้สอนมีความตื่นตัวในการผลิตสื่อต่างๆ ให้น่าสนใจยิ่งขึ้น

หลักการเลือกสื่อการสอน

1. สื่อนั้นต้องสัมพันธ์กับมาตรฐานการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
2. เลือกสื่อที่มีเนื้อหาถูกต้อง ทันสมัยน่าสนใจ
3. เป็นสื่อที่เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น ความรู้ และประสบการณ์ของผู้เรียน
4. สื่อนั้นต้องสะดวกในการใช้ มีวิธีไม่ซับซ้อนยุ้งยากจนเกินไป
5. ต้องเป็นสื่อที่มีคุณภาพเทคนิคการผลิตที่ดี มีความชัดเจนและเป็นจริง
6. มีราคาไม่แพงจนเกินไป หรือถ้าจะผลิตเองควรคุ้มกับเวลาและการลงทุน

ขั้นตอนในการใข้สื่อ

1. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน เช่น รูปภาพ การเล่านิทาน
2. ขั้นดำเนินการสอนหรือประกอบกิจกรรมการเรียน
3. ขั้นวิเคราะห์และฝึกปฏิบัติ
4. ขั้นสรุปบทเรียน
5. ขั้นประเมินผู้เรียน เช่น แบบบันทึกการตรวจผลงาน แบบบันทึกการตรวจเวลาเด็กเล่น

หลักการใช้สื่อการเรียนการสอน

1. เตรียมตัวผู้สอน เช่น ผู้สอนต้องเตรียมสื่อในการเรียนการสอน
2. เตรียมจัดสภาพแวดล้อม
3. เตรียมพร้อมผู้เรียน
4. การใช้สื่อ
5. การติดตามผล

หลักการใช้สื่อการเรียนและการวางแผนใช้สื่อการเรียนการสอน

การเลือกดัดแปลงหรือออกแบบสื่อ
(Select,Modify,or Design)
1. เลือกสื่อที่มีอยู่แล้ว

การใช้สื่อ

- ดูหรืออ่านเนื้อหาในสื่อเหล่านั้นก่อนเป็นการเตรียมตัว
- จัดเตรียมสถานที่ ที่นั่งเรียน อุปกาณ์ เครื่องมือและสิ่งต่างๆ
- เตรียมตัวผู้เรียน โดยการใช้สื่อนำเข้าสู่บทเรียน
- ควบคุมชั้นเรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีความสนใจในสื่อที่นำเสนอนั้น

การเลือกสื่อการเรียนรู้

- สื่อสัมพันธ์กับจุดมุ่งหมายและเนื้อหาที่สอน
- ความเป็นไปได้ในการจัดหาและค่าใช้จ่าย
- ความสะดวกในการนำไปใช้
- สื่อต้องเหมาะสมกับวัยผู้เรียน