วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ครั้งที่4 วันที่ 8 กรกฏาคม 2553


อาจารย์ให้นักศึกษาใส่ URL ของแต่ละคนลงใน Blogger ของอาจารย์หลังจากนั้นอาจารย์ก็พูดเกี่ยวกับเรื่องการารับน้องเมื่อปีที่แล้วว่าได้ทำอะไรกไปบ้างและหลังจากรับน้องเสร็จได้ทำกิจกรรมอะไรอีกบ้างซึ่งกิจกรรมมีดังนี้

- ปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่
- กิจกรรมรับน้อง
- บายสีสาขาการศึกษาปฐมวัย
- เข้าค่ายคุณธรรมจริยธรรม
- ไหว้ครู
- ประกวดดาวเดือน
- กีฬาสีเทาเหลือง
- ลอยกระทง


หลังจากนั้นอาจารย์ก็เข้าสู่บทเรียน

กราฟประสบการณ์มี 11 กลุ่ม


ประสบการณ์ตรง

เป็นประสบการณ์ขั้นที่เป็นรูปธรรมมากที่สุดโดยก่รให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์โดยตรงจากของจริง สถานการณ์จริง หรือด้วยการกระทำของตนเอง เช่น การจับต้องและการเห็นเป็นต้น


ประสบการณ์รอง

เป็นการเรียนรู้โดยการให้ผู้เรียนเรียนจากสิ่งใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด ซึ่งอาจเป็นของจำลองหรือสถานการณ์จำลองก็ได้

ประสบการณ์นาฎหรือการแสดง
เป็นการแสดงบทบาทสมมติหรือการแสดงละครเป็นเนื่องจากเป็นการจัดประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนในเรื่องที่มีข้อจำกัดด้วยยุคสมัย

การสาธิต

เป็นการแสดงหรือการกระทำคำอธิบายเพื่อให้เห็นขั้นตอนของการกระทำนั้น

ศึกษานอกสถานที

เป็นการให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ต่างๆ ภายนอกสถานที่เรียน อาจเป็นการท่องเที่ยวการเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ หรือการสัมภาษณ์เป็นต้น

นิทรรศการ

เป็นการจัดแสดงสิ่งของต่างๆ การจัดป้ายนิเทศให้สาระประโยคและความรู้แก่ผู้ชม

โทรทัศน์

โดยใช้ทั้งโทรทัศน์การศึกษาทางโทรทัศน์เพื่อการเรียนการสอนเพื่อ เพื่อให้ข้อมูลความรู้แกผู้เรียนหรือผู้ชมที่อยู่ในห้องเรียนหรืออยู่ทางบ้านและใช่ส่งได้ทั้งในระบบวงจรเปิดการสอนอาจจะเป็นการสอนสดหรืเป็นการบันทึกวีดีโอ

ภาพยนต์

เป็นภาพเคลื่อนไหวที่บันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ลงบนฟีมส์เพื่อให้ผู้เรียนได้รับรู้ประสบการณ์ทั้งภาพและเสียงโดยใช้ประสาทตา และหู

การบันทึกเสียง วิทยุ ภาพนิ่ง

เป็นได้ทั้งรูปของแผ่นเสียงหรือเทปบันทึกเสียง วิทยุเป็นสื่อที่ให้เฉพาะเสียง

ทัศนสัญสักษณ์

เช่น แผนที่ แผนสถิติ หรือเครื่องหมายต่างๆซึ่งเป็นสิ่งที่มีสัญสักษณ์แทนความเป็นจริงของสิ่งต่างๆ

วจนสัญสักษณ์

เป็นประสบการณ์ขั้นที่เป็นนามธรรมมากที่สุดได้แก่ ตัวหนังสือให้ภาษาเขียนและเสียงของคำพูดในภาษาพูด

แนวคิดของบรูเนอร์ ( Jerom S. Bruner )

- กลุ่มการกระทำ ( Enactive )
- กลุ่มภาพ ( Iconic )
- กลุ่มนามธรรม (Abstracs )

แนวคิดของสมาคมเทคโนโลยีและสื่อการศึกษาอเมริกา

- สื่อการสอนประเภทวัสดุ ( Software or Material )
- สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์ ( Hardware )
- สื่อการสอนประเภทเทคนิควิธีการ ( Techniques and Methods )

หลักการเลือกสื่อการเรียนการสอน

- แนวคิดการเลือกสื่อการเรียนการสอนของโรมิสซอว์สกี้

ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกสื่อการเรียนการสอน
1. วิธีการสอน
2. งานการเรียนรู้
3. ลักษณะของผู้สอน
4. ข้อจำกันในการปฏิบัติ
5. ผู้สอนหรือครู

สรุปหลักการในการเลือกสื่อการเรียนการสอน

1. เลือกสื่อการสอนที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้
2. เลือกสื่อการสอนที่ตรงกับลักษณะของเนื้อหาของบทเรียน
3. เลือกสื่อการสอนให้เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียน
4. เลือกสื่อการสอนให้เหมาะกับจำนวนผู้เรียนและกิจกรรมการเรียนการสอน
5. เลือกสื่อการสอนที่เหมาะกับสะภาพแวดล้อม
6. เลือกสื่อการสอนที่มีลักษณะน่าสนใจ และดึงดูดความสนใจ
7. เลือกสื่อการสอนที่มีวิธีการใช้งาน เก็บรักษา และบำรุงรักษาได้สะดวก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น